อีกคำหนึ่งที่ได้ยินบ่อยๆ เมื่อเรียนภาษาอังกฤษคือ ต้องพยายาม"คิดเป็นภาษาอังกฤษ" ความจริงจะเรียนภาษาอะไร ก็ต้องพยายามคิดเป็นภาษานั้นๆ คำว่าคิดเป็นภาษานั้นๆ ก็คือเช่นจะไป ห้องน้ำต้องคิดถึงศัพท์ toilet จะไปห้องครัว ก็ต้องคิดถึงศัพท์ kitchen จะไปนอนก็ต้องคิดถึง bedroom เป็นต้น ถ้าเราทำได้อย่างนี้ แต่ละวันเราจะได้คำศัพท์มากมาย
เมื่อจะเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ ก็ต้องพยายามจำคำศัพท์ง่ายๆ ที่เราต้องใช้ ตั้งแต่ตื่นเช้า จนถึง เข้านอนก๋อน จำคำศัพท์พวกนี้ให้ได้ก่อน เช่น get up , breakfast,lunch,dinner , go to bed etc.
ในการเรียนรู้คำศัพท์ vocabulary เราส่วนมาก เวลาดู Dictionary เราดูกันแต่ความหมายของคำศัพท์ ดูเท่านั้นไม่พอ
เวลาค้นหาคำศัพท์ใน Dictionary ต้องดู
1. คำศัพท์นั้น เป็นคำอะไร คือ เป็นคำนาม ,คำกริยา,คำคุณสรรพ เป็นต้น
2. ต้องดูว่า คำศัพท์นั้น ออกเสียงอย่างไร เน้น ตรงคำไหน คำศัพท์ภาษาอังกฤษตั้งแต่สองพยางค์ขึ้นไป จะเน้นหนักเบา ต่างกัน
3. ดูความหมายว่า แปลว่าอะไรได้บ้าง ตรงตามบริบท ที่เราต้องการหรือไม่
เครื่องมือที่สำคัญในการเรียนภาษาอังกฤษก็คือ Dictionary
1. อังกฤษ-ไทย
2. ไทย-อังกฤษ
Dictionary ที่ผมชอบมากคือ Dictionay ของ อาจารย์ สอ เสถบุตร ตอนเรียนใหม่ๆ ไม่ชอบเลย เพราะ Dictionary ของท่านให้คำแปลไว้มากมาย เวลาใช้ไม่รู้จะเลือก เอาความหมายอันไหน พอเรียนสูงๆ ขึ้น จึงเข้าใจว่า คำศัพท์แต่ละคำมีความหมายมากมายแล้วแต่ context คือบริบท คือเนื้อเรื่องของคำศัพท์นั้นว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร ควรแปลว่าอย่างไรให้เข้ากับเรื่อง คนเรียนภาษาอังกฤษหลายคนบ่นว่า ภาษาอังกฤษคำเดียวแปลได้หลายอย่าง ไม่รู้จะเลือกเอาคำไหน ผมเคยถามว่า ค่าว่า"เขา"ในภาษาไทยแปลว่าอะไรได้บ้าง อาจหมายถึงภูเขา,เขาวัวเขาควาย,เขาที่เป็นคำสรรพนามคนที่เรากล่าวถึง ฯ เวลาพบคำว่าเขาเราทราบได้อย่างไรว่า ควรแปลว่าอะไร เอาอะไรเป็นหลัก เอาบริบทของคำๆ นั้นเป็นหลัก เช่นเดียวกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษครับ
No comments:
Post a Comment